The Prepared Environment

               “หลักสูตรการศึกษาแบบเก่าๆ เป็นเรื่องง่ายๆที่ครูเป็นผู้สอนและเด็กเป็นผู้ฟัง และไม่สำคัญอีกต่อไปแล้วว่ากระบวนการนี้เริ่มมาจากไหน แต่เมื่อมีสิ่งใหม่ซึ่งเป็น “องค์ประกอบที่สาม” เข้ามา จึงเกิดความสัมพันธ์ใหม่ๆหลายอย่างตามมา ตอนนี้ครูไม่ใช่แค่มีความเกี่ยวข้องกับเด็กนั้น ยังมีความเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมด้วย

               หากครูและเด็กย้ายไปยังอีกห้องเรียนหนึ่ง ซี่งไม่มีการเตรียมพร้อม ความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่นี้ก็จะหายไป และการเรียนรู้แบบซึมซับก็จะหายไปด้วย

               มอนเตสซอรีเห็นว่าสภาพแวดล้อมที่มีการเตรียมพร้อมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาเด็กให้ได้ผล เธอได้ตระหนักว่า เด็กที่มีความอ่อนเยาว์นั้น จะได้รับอิทธิพลอย่างเต็มที่จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวซึ่งเด็กได้ซึมซับเอาไว้เป็นโลกใบหนึ่งของเขา เธอเห็นว่าสภาพแวดล้อม (รวมทั้งคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมด้วย) เป็นส่วนหนึ่งที่อาจเป็นสิ่งที่จะปิดกั้นการแสดงศักยภาพของเด็ก แต่ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมอย่างใส่ใจและให้มีความพร้อมสำหรับความต้องการของเด็กก็จะสามารถหลีกเลี่ยงอุปสรรคต่างๆเหล่านี้ได้  ดังนั้นเธอจึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวางรูปแบบชั้นเรียนมอนเตสซอรี

               สิ่งแวดล้อมในห้องเรียนแบบมอนเตสซอรี่ได้รับการออกแบบมาให้เข้าถึงความต้องการของเด็ก
ทุกๆคนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เป็นสิ่งแวดล้อมซึ่งจัดขึ้นเพื่อเด็กมากกว่าเพื่อครู และเธออยากให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายมากที่สุดภายใต้สิ่งแวดล้อมนี้

               เธอทราบดีว่าระเบียบวินัยเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับเด็กๆ อุปกรณ์ทุกอย่างจึงมีที่วางของตัวเองและเก็บรักษาอย่างเรียบร้อย เธอยังได้สร้างสรรค์อุปกรณ์ที่เห็นว่าดึงดูดใจเด็กๆ และย้ายอุปกรณ์ที่เห็นว่าเด็กไม่สนใจออกไป

               เธอพยายามเพื่อให้แน่ใจได้ว่าสื่ออุปกรณ์เหล่านั้นเหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการในการเรียนรู้ที่หลากหลายของเด็ก จึงกล่าวได้ว่าเด็กนั่นเองที่เป็นผู้นำไปสู่การพัฒนาอุปกรณ์เหล่านี้ และยังเป็นผู้ที่แสดงให้เห็นด้วยว่าควรจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนอย่างไร

               “มีข้อสังเกตพื้นฐานอยู่เพียงข้อเดียว นั่นคือ เด็กควรได้รับอิสระในการแสดงออก ทั้งทางด้านความต้องการและทัศนคติ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่แสดงให้เห็นหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการปิดกั้น การแสดงออกทางธรรมชาติเหล่านี้ของเด็ก”